February 05, 2019

วัสดุในการทำห้องเก็บเสียงสำหรับการอัดเพลงชนิดใดดีที่สุด?

ห้องปกติที่คุณอยู่นั้นมีเสียงรบกวนมากกว่าที่คุณคิด คุณจะรับรู้ถึงเสียงนั้นเมื่อคุณได้ลองอัดเสียงผ่านไมค์คอนเดนเซอร์ การทำห้องเก็บเสียงนั้นเป็นงานที่หินพอสมควรถ้าคุณไม่รู้วิธีการทำ

บ่อยครั้งที่มีคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเก็บเสียง บางครั้งพวกเขาอาจจะสับสนกับการปรับคุณคุณลักษณะทางเสียง (Acoustic Treatment) ความแตกต่างก็คือ การเก็บเสียงนั้นทำให้ห้องเงียบมากขึ้นโดยที่กันเสียงรบกวนภายนอก แต่ การปรับคุณลักษณะทางเสียงจะทำให้การอัดเสียงของคุณมีคุณภาพมากขึ้นโดยการดูดซับเสียงก้องกังวาล ตามทฤษฎีแล้ว สตูดิโออัดเสียงควรที่จะใช้ทั้งสองแบบผสมกัน

กระบวนการของการเก็บเสียงในห้องประกอบไปด้วย 4 เทคนิคนี้

เพิ่มอัตราส่วนมวลต่อความหนาแน่น
ในการเก็บเสียงไม่ให้เข้าและออกจากห้องนั้น ผนังของห้องจำเป็นต้องมีมวลมากเพื่อไม่ให้เกิดการสั่นจากพลังงานเสียง ยิ่งวัสดุนั้นหนาเท่าไหร่ยิ่งดี หากคุณต้องการที่จะทำกำแพงใหม่ คุณจำเป็นต้องสร้างกรอบผนัง แล้วคลุมทับด้วยดรายวอล์ หรือเลเยอร์ชีทร็อคใหม่

การติดตั้งแผ่นแดมป์ (Damping)
การติดตั้งแผ่นแดมป์เป็นวิธีที่กระจายพลังงานจลน์จากคลื่นเสียงโดยการแปลงเป็นความร้อน ขั้นตอนนี้ง่ายและราคาถูก เพียงแค่ใส่กาวกันเสียง (Soundproofing glue) ระหว่างผนังของคุณ วิธีนี้เหมาะกับการทำเมื่อคุณกำลังก่อสร้างบ้าน, ผนัง, หรือพื้น

การปิดกั้นการถ่ายโอนเสียง (Decoupling)
เมื่อใดก็ตามที่ทั้งสองโครงสร้างในห้องของคุณแนบชิดกัน การสั่นสะเทือนของเสียงจะถ่ายทอดจากโครงสร้างหนึ่งไปอีกโครงสร้างหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นไปอีก การปิดกั้นการถ่ายโอนเสียงเป็นกระบวนการป้องกันเสียงจากการถ่ายทอดนั้นโดยการแยกจุดที่โครงสร้างสัมผัสกัน โดยทั่วไปจะใช้ยางที่มีความหนาแน่นและยืดหยุ่นสูง

ปิดช่องว่างอากาศ
ขั้นตอนสุดท้ายในการเก็บเสียงก็คือการปิดรอยแตกและรูในห้อง เพราะแม้จะทำ 3 ขั้นตอนที่ว่ามาแล้ว เสียงก็ยังสามารถเข้าไปในช่องว่างเล็กๆเหล่านั้นได้อยู่ดี เครื่องมือ 3 อย่างที่ใช้ในการอุดรูเหล่านั้นคือ วัสดุยาแนวรอยต่อแบบอคูสติก (Acoustical Caulk) และ ปะเก็นโฟม(Foam Gaskets)

เก็บเสียงทางเพดานและพื้น
ถ้าคุณมีบ้านหลายชั้น คุณสามารถวางพรมในห้องชั้นบนและห้องชั้นล่างของห้องหลัก พรมจะช่วยลดเสียงที่มาจากห้องเหล่านั้น เช่น เสียงเดิน คุณสามารถใช้แผ่นโฟมอคูสติก (Acoustic Foam) ที่มี่ประสิทธิภาพในการกันเสียงรบกวนเข้ามาผ่านทางเพดาน

การทำห้องเก็บเสียงนั้นจำเป็นหรือไม่?
การเก็บเสียงในห้องนั้นเป็นงานที่ใช้ทั้งเวลา, เงิน และทักษะ นี่คือเหตุผลว่าทำไมสตูดิโอในบ้านส่วนใหญ่ข้ามขั้นตอนนี้ไป หรือไม่ก็ทำโดยที่มีทรัพยากรจำกัด อย่างไรก็ตาม เสียงรบกวนอาจจะสร้างความรำคาญก็จริง แต่ส่วนใหญ่เสียงเหล่านั้นก็มีแค่เป็นช่วงๆ เท่านั้น คุณสามารถหาช่วงเวลาที่เงียบที่สุดก็สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข แม้ว่าจะไม่ได้ทำการเก็บเสียงก็ตาม

ที่มา:
https://ehomerecordingstudio.com/soundproof-room https://aquietrefuge.com/soundproof-room-for-music

08-prosorbacoustic_com-extramix#

บริษัท ออล โปร แมท จำกัด​

15 ซอย พระรามเก้า 59 (อิสสระชัย)
แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานครฯ 10250​

แฟกซ์

02 - 055 - 0267​

ส่งอีเมลล์หาเรา คลิกเลย!

ส่งอีเมลล์หาเรา คลิกเลย!

ติดต่อ ฝ่ายขายส่ง
หรือ สมัครตัวแทนจำหน่าย คลิก!

Copyright © 2022 Prosorb acoustic All Rights Reserved